รายละเอียดหนังสือ

สัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสยาม พ.ศ.๒๒๒๓ - ๒๔๕๐ (ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม)
สัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสยาม พ.ศ.๒๒๒๓ - ๒๔๕๐ (ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม)
ผู้แต่ง
: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ผู้แปล
: -
วันที่เผยแพร่
: 06 พฤษภาคม 2568
หน่วยงานผู้จัดพิมพ์
ISBN
: 978-616-283-755-5
จำนวนหน้า
: - หน้า
ขนาด (ก x ย x ส)
: -
น้ำหนัก
: 455 กรัม

แปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Les relations de la France et du Siam 1680 - 1907 เขียนโดยร้อยเอก อ็องรี โซฟ (Capitaine Henri SEAUVE) อดีตสมาชิกในคณะสำรวจปาวี (Mission Pavie) ซึ่งเดินทางเข้ามาสำรวจทำแผนที่และติดตามสถานการณ์ดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศสในอินโดจีนที่นำโดย เมอสิเยอร์ ออกุสต์ ปาวี (Auguste Pavie) อดีตกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ได้บันทึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสยาม โดยแบ่งเป็น 3 ภาค ได้แก่ 1. สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และขยายเครือข่ายทางการค้าเข้ามายังสยาม และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ทั้งสองชาติสิ้นสุดลงในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา 2. สมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ครั้งใหม่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ส่งราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี ณ พระราชวังฟงแตนโบล มีการจัดทำสนธิสัญญาทางพระราช ไมตรีและการค้าระหว่างสยามกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2399 3. สมัยสาธารณรัฐที่ 3 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นยุคที่จักรวรรดินิยมทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมตามประเทศต่าง ๆ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยที่สามารถดำรงรักษาเอกราชไว้ได้ แม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไป โดยมีเหตุการณ์สำคัญคือการเข้ามาสำรวจพื้นที่อินโดจีนของคณะสำรวจปาวี และการที่ฝรั่งเศสได้นำเรือรบมาจอดที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นที่มาของ วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จนกระทั่งสยามจำยอมลงนามในสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปิดท้ายด้วยภาคผนวกที่รวบรวมหนังสือสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสว่าด้วยการปักปันเขตแดนในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ

สัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสยาม พ.ศ.๒๒๒๓ - ๒๔๕๐ (ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม)
ซื้อด้วยเงินสด
230.00
 บาท  

หนังสือมาใหม่

ไม่มีความคิดเห็น
ยังไม่มีความคิดเห็น

กรุณา เข้าสู่ระบบ ก่อนแสดงความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณยังคงใช้เว็บไซต์นี้ต่อไปหมายความว่าคุณยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขและนโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้